30 Sep
30Sep

ภายหลังจากที่มีขุดคลองพระราชาพิมลขึ้น สองฝั่งคลองถูกจับจองเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและ ท าการเกษตรเพาะปลูกทั้งข้าว พืชสวนและพืชผัก เกิดเป็นแหล่งค้าขายข้าว และสินค้าเกษตรที่ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ไม่เพียงมีตลาดใหญ่ของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์และตลาดแม่ห้าง พันธุมจินดา ที่เป็นแหล่งค้าขายขึ้นชื่อและเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเท่านั้น ยังมีชุม ทางการคมนาคมทั้งรถไฟของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์และชุมทางการเดินทางทางเรือส าหรับ ติดต่อกับอ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อ าเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี อ าเภอลาดบัว หลวง จังหวัดนครศรีอยุธยา ให้ผู้คนเดินทางติดต่อซื้อขายสินค้าข้ามจังหวัดสร้างความเจริญให้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อก าเนิดเป็นอ าเภอบางบัวทอง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชด าริให้มีการ กระจายอ านาจการปกครองบ้านเมืองสู่ชุมชนในรูปแบบเทศบาล ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ รัฐบาล ได้ตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น ในเวลานั้นชาวบ้านบางบัวทองผู้มีความคิดก้าวหน้าคณะหนึ่ง น าโดยขุนพิทักษ์ปทุมมาศ (สิงโต สามวัง) ได้ร่วมกันคิดระบบการบริหารท้องถิ่นแบบเทศบาลตามนโยบายของราชการมาใช้ บริหารชุมชนบางบัวทอง โดยคณะผู้ร่วมก่อตั้งเทศบาลได้เสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยก ฐานะชุมชนบางบัวทองขึ้นเป็นเทศบาล และได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองบางบัวทอง เมื่อ วันที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๕๔ หน้า ๑๕๔๖ โดยมีคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองบางบัวทองชุดแรก ประกอบด้วย ขุนพิทักษ์ปทุมมาศ (สิงโต สามวัง) ก านันต าบลบางบัวทอง เป็นนายกเทศมนตรี มลแจ่ม อิศรางกูล และนายเลี้ยง ทองไฮ้ เป็นเทศมนตรี เทศบาลเมืองบางบัวทอง การได้รับแต่งตั้งให้เป็นเทศบาลเมืองบางบัวทอง นั้นแสดงให้เห็นถึงความส าคัญของชุมชนตลาดบางบัวทองที่ตั้งอยู่ได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยปกติ เทศบาลที่อยู่ในชนบท มิได้เป็นอ าเภอเมือง มักจะเป็นเทศบาลต าบลเท่านั้น ทว่าฐานะทาง เศรษฐกิจและจ านวนประชากรของชุมชนบางบัวทองกลับมีมากพอที่จะมีฐานะเป็นเทศบาลเมือง ได้ การบริหารชุมชนในระบบเทศบาลของเทศบาลเมืองบางบัวทองนั้น ล้วนเป็นการบริหาร ชุมชนโดยประชาคมในชุมชนเอง มิได้มีการสั่งการจากราชการส่วนกลาง การที่ชุมชนตลาดบางบัว ทองได้ร่วมกันคิดจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทองขึ้นในช่วงเวลาแรกๆ ที่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติเทศบาลในประเทศไทย ย่อมแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในทางความคิด ความตั้งใจ และความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของชาวบางบัวทองที่จะพัฒนาและสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนบาง บัวทองอย่างจริงจัง ประวัติเทศบาลเมืองบางบัวทอง เมื่อเริ่มต่อตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ส านักงาน ส านักงานเทศบาลเมือง บางบัวทองหลังแรกนั้นเป็นที่ท าการชั่วคราว มีลักษณะเป็นห้องแถวตั้งอยู่ในตลาดเจ้าพระยา วรพงศ์พิพัฒน์ ด้านหน้าเปิดกว้างมีบานพับแบบบานเฟี้ยมพับเปิดปิดได้ลักษณะคล้ายร้านค้า ด้านหน้ามีป้ายศาลาเทศบาลเมืองบางบัวทองอยู่เหนือประตูเข้าศาลาเทศบาล ต่อมาส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง หลังที่ ๒ ได้ย้ายมาอยู่ที่ตลาดเก่าฝั่งทิศใต้ของ คลองพระราชาพิมล โดยได้เช่าจากเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์มีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นครึ่ง ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ มีการสร้างส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทองหลังที่ ๓ ขึ้น ตัว อาคาร ตั้งอยู่ริมคลองพระราชาพิมล หันหน้าไปทางคลองและตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการ อ าเภอบางบัวทอง ซึ่งเป็นที่ดินที่นางห้าง พันธุมจินดา เป็นผู้อุทิศให้ มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้น เดียว ยกพื้นสูงจากพื้นดินไม่มากหลังคาทรงปั้นหยา ด้านหน้ามีมุขสองข้างทั้งขวาและซ้ายของ อาคาร ตรงกลางเป็นบันไดขึ้นส านักงานเทศบาล แต่เนื่องจากอาคารส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทองคับแคบและไม่สะดวกแก่ประชาชน ผู้มีติดต่องาน เทศบาลเมืองบางบัวทองจึงได้สร้างส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง หลังที่ ๔ ขึ้น เป็นอาคารตึก ๔ ชั้น ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นสวนสาธารณะของเทศบาลเมืองบางบัวทอง อยู่ริม ถนนสาบบางกรวย ไทรน้อย โดยนายด ารง สุนทรศารทูล อธิบดีกรมปกครอง ในขณะนั้น ได้มา เป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ สมัยนายโกวิทย์ เจริญนนทสิทธิ์ เป็นนายกเทศมนตรีเมืองบางบัว ทอง ได้มีการก่อสร้างอาคารส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง หลังที่ ๔ เป็นอาคารส านักงาน สมัคใหม่ มีลักษณะเป็นตึก ๕ ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารส านักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง หลังที่ ๔ เดิม และได้มีการเปิดให้บริการแก่ประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน โดยเทศบาลเมืองบางบัวทองมีตราสัญลักษณ์ของเทศบาล คือ วงกลมชั้นใน เป็นรูปช้าง หมอบเงยหน้า งวงชูดอกบัว มีรัศมีแผ่ออกจากดอกบัว วงกลมชั้นนอกมีข้อความส านักงานเทศบาล เมืองบางบัวทองอยู่ด้านบน ด้านล่างมีข้อความจังหวัดนนทบุรี และเนื่องจากเกิดชุมชนเมืองขนาดใหญ่ขึ้นทั้งในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองและ ปริมณฑลโดยรอบเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จึงได้มีการขยายเทศบาลเมืองบางบัวทองตามราช กฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกาศในราชกิจ จานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๒๒ ก ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๘ ขยายเขต เทศบาลเมืองบางบัวทอง จาก ๑ ตารางกิโลเมตร เป็น ๑๓๕ ตารางกิโลเมตร

Comments
* The email will not be published on the website.
I BUILT MY SITE FOR FREE USING